ระบบก๊าซชีวภาพ
ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสีย (Solid Waste)
และวัสดุเส้นใย (Fibrous Substrate)
วัตถุดิบของเสียและวัสดุเส้นใยในประเทศไทย
ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตเกษตร มีศักยภาพในการนำวัตถุดิบประเภท ของเสีย (Solid Waste) และวัสดุเส้นใย (Fibrous Substrate) มาใช้ผลิตก๊าซชีวภาพด้วยกระบวนการย่อยสลายแบบไร้อากาศ ยกตัวอย่างเช่น
กิจกรรม | วัตถุดิบที่ได้ |
เศษวัสดุเหลือทิ้ง หรือผลผลิตภาคการเกษตร |
|
เศษวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตเกษตร |
|
ของเสียจากชุมชนหรือกิจการพาณิชย์ |
|
สถานการณ์ที่เกิดขึ้น (และจะมากขึ้นทุกๆ ปี) !!
ทำไมต้องใช้เทคโนโลยี Biogas ในการจัดการของเสีย/เศษวัสดุดังกล่าว
- คุณสมบัติของเสียและวัสดุเส้นใย (Solid Waste & Fibrous Substrate) ดังกล่าว โดยปรกติมีความชื้นสูงซึ่งเหมาะสมต่อการนำมาบำบัดด้วยกระบวนการไร้อากาศ (biogas) หรือกระบวนการใช้อากาศ (ทำปุ๋ยหมัก)
- ลดฝุ่นควันจากการเผาทำลายวัสดุ เช่น ฟางข้าวในที่โล่ง
- เป็นทางเลือกในการ “เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร” –> “โมเดลโรงไฟฟ้าชุมชน”
- การผลิตไฟฟ้าจากเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ มีการยอมรับจากชุมชนสูง
- การผลิตก๊าซชีวภาพในระบบปิด ช่วยลดปัญหามลภาวะกลิ่นเน่าเหม็น
- ได้พลังงานทดแทนจากก๊าซชีวภาพ ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และช่วยปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- ได้ผลพลอยได้จากตะกอนส่วนเกิน (จากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ) ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน ทดแทนปุ๋ยเคมี
ชนิดของวัสดุเส้นใย (Fibrous Substrate) ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้